ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปและสถานะสุขภาพ
บริบททั่วไปของพื้นที่

          ข้อมูลสภาพแวดล้อมทั่วไปของหน่วยบริการปฐมภูมิ
แผนที่แสดงพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยบริการเครือข่ายปฐมภูมิ


 
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านเวียงใต้    ข้อมูล  ณ  30  กันยายน  25ุ60
ข้อมูล
หน่วยนับ
รวม
เวียงเหนือ
เวียงใต้
นาบัว
นาน้ำมัน
ใหม่สามัคคี
เวียงทอง



ม.1
ม.2
ม.3
ม.4
ม.11
ม.15
จำนวนหมู่บ้าน
หมู่
6
1
1
1
1
1
1
จำนวนหลังคาเรือน
หลัง
927
145
218
186
90
150
160
จำนวนประชากร
คน
3414
568
814
586
307
540
599
                   -ชาย
คน
1684
282
385
282
168
267
300
                   -หญิง
คน
1730
286
429
304
139
273
299
โรงเรียนประถม
โรง
1
0
0
0
0
1
0



ลักษณะสำคัญทางสังคม เศรษฐกิจ และประชากร
                       รพ.สต.บ้านเวียงใต้ อยู่ในเขตการปกครองของตำบลเมืองยาว  อำเภอห้างฉัตร  จังหวัดลำปาง พื้นที่รับผิดชอบจำนวน 7 หมู่บ้าน  จำนวน       927  หลังคาเรือน ประชากรทั้งหมด  3414  คน เป็นชาย 1,684   คน หญิง 1,730  คน
                         การตั้งถิ่นฐาน ลักษณะภูมิประเทศเป็นพื้นที่ราบลุ่มเชิงเขา เสี่ยงต่อการเกิดหมอกควัน มลพิษทางอากาศ   ถนนทั้งสายหลัก และสายรองเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจราจร ( Pneumonia , Asthma, COPD, Fracture, HI)
                          ศาสนา นับถือศาสนาพุทธเกือบทั้งหมด  มีประเพณีและกิจกรรมเกี่ยวกับศาสนาบ่อยผู้นำศาสนามีอิทธิพลด้านความคิด มีความเชื่อ ในการ  รักษาสุขภาพแบบดั้งเดิม เช่น ผู้ป่วย Fracture ใช้เฝือกไม้ไผ่ นับถือทรงเจ้าเข้าผี ผู้ป่วยเริมใช้วิธีการเป่าน้ำมนต์ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ใช้ยาสมุนไพร/ยาต้ม ความเชื่อว่าการดื่มสุรา  ช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ  ทำให้มีแรง ไม่อ่อนเพลียจากการทำงาน 
                          ลักษณะครอบครัว  เป็นครอบครัวเดี่ยว อยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดใหญ่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดแบบเครือญาติ เด็กและผู้สูงวัยถูกทอดทิ้งทำให้เกิดทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า การฆ่าตัวตาย การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ เกิดโรคระบาด และการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคติดเชื้อ       
                            โครงสร้างอำนาจทางสังคม มีผู้มีอิทธิพลทางความคิด ผู้นำที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ ผู้นำศาสนา ชมรมต่างๆในเขตพื้นที่ เช่น ชมรมผู้สูงอายุ ชมรม อสม.  กลุ่มแม่บ้าน  มีวัฒนธรรมพื้นบ้านที่ปรับเปลี่ยนยาก   มีประเพณีทำบุญต่างๆ  รับประทานข้าวเหนียว โดยการใช้มือ  ใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ   ไม่ใช้ช้อนกลาง รับประทานอาหารดิบๆสุกๆ อาหารไขมันสูง ดื่มแอลกอฮอล์
                           สิ่งแวดล้อม   มีมลภาวะจากการเผาป่า  มลพิษจากสารเคมียาปราบศัตรูพืช  กลิ่นเหม็นจากฟาร์มเลี้ยงสัตว์
                            การคมนาคม สะดวกติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 และถนนสายรอง ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ (HI, Fracture)
                           การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนาข้าว ทำสวนถั่วลิสง  และอาชีพทำงานในโรงงาน ทั้งในโรงงานภายในอำเภอ   จังหวัดและโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมลำพูน  ในปัจจุบันอาชีพการทำนาข้าวมีการเปลี่ยนแปลงกรรมวิธีการผลิตต่างไปจาก ในอดีตเป็นอย่างมาก  จากการใช้แรงงานคนไปเป็นการใช้เครื่องจักรกล  ทำให้กลุ่มประชากรวัยหนุ่มสาว  วัยแรงงาน  หันไปประกอบอาชีพในโรงงานอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบต่อสุขภาวะของประชากร  อาทิ เช่น  ขาดการดูแลตัวเองและครอบครัว  กลุ่มเด็ก   ผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านตามลำพัง เกิดโรคจากการทำงาน พฤติกรรมสุขภาพไม่เหมาะสมและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพทำได้ยาก  ส่งผลกระทบต่อการ


เกิดโรคในชุมชน เช่น อุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงาน  โรคระบบกล้ามเนื้อ โรคหอบหืด  และการเกิดภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มโรค Metabolic  โดยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่สำคัญออกเป็น 5 กลุ่ม ดังนี้
                1.กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังและเมตาลิก ได้แก่ DM HT AMI STROK CA cervix CA colon CA Breast
                2.กลุ่มผู้ป่วยอุบัติเหตุ ได้แก่ Head injury Fracture Hip อุบัติเหตุในโรงงาน
                3.กลุ่มแม่และเด็ก ได้แก่ LBW Preterm Birth asphyxia
                4.กลุ่มโรคทางทันตกรรม ได้แก่ Pulpitis  Chronic ginvitis Caries of dentine
                5.กลุ่มโรคทั่วไป ได้แก่ Pneumonia COPD/Asthma DHF Diarrhea Food poisoning HIV/AIDS TB Suicide/ยาเสพติด LBP/OA knee
               โดยทาง  รพ.สต. มีการบริหารจัดการดังนี้ คือ
                1.กำหนดเป็นยุทธศาสตร์ระดับCUPและระดับโรงพยาบาล เพื่อขับเคลื่อน
                2.มีทีมสหวิชาชีพที่รับผิดชอบโรคดังกล่าวชัดเจน
                3.มีแผนกการดูแลผู้ป่วยร่วมกัน และมีแผนการดูแลในบทบทบาทของแต่ละวิชาชีพ
                4.ใช้ Care Process ในการวิเคราะห์กระบวนการ เชื่อมโยงทุกหน่วยงานครอบคลุม
                5.การจัดระบบบริการและการบริหารจัดการทรัพยากรให้เหมะสมกับเป้าหมายและจุดเน้นในการพัฒนา

พื้นที่การติดต่อ
                       ทิศเหนือ  ติดต่อ อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน
                       ทิศใต้      ติดต่อ บ้านเหล่า  ตำบลเมืองยาว
                       ทิศตะวันออก ติดต่อ บ้านลุ่ม ตำบลแม่สัน
                       ทิศตะวันตก ติดต่อ บ้านสันกำแพง  ตำบลเมืองยาว

อัตรากำลังบุคลากร  จำนวน  5  คน
                รายชื่อ       1. นายรุ่งโรจน์  ง้าวกาเขียว               ตำแหน่ง   นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
                                 2. นางผ่องพรรณ  นามะเสน
              ตำแหน่ง    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
                                 3. นางขวัญใจ  ใจกันทา                     ตำแหน่ง    พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
                                 4. นางสาวกัญญา  แสงทอง               ตำแหน่ง   เจ้าพนักงานสาธารณสุข
                                 5. น.ส.บุผา  ขัติปัญญา                       ตำแหน่ง   ลูกจ้าง
                                 6. น.ส. พิมประภา ยารังสี                   ตำแหน่ง   ลูกจ้าง













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น